top of page

ธนบัตรแบบต่าง ๆ

ธนบัตรแบบ ๑

       ธนบัตรแบบแรกของประเทศไทยที่นำออกใช้ พิมพ์ที่ บริษัท Thomas de la Rue ประเทศอังกฤษ พิมพ์ด้วยการพิมพ์ลวดลายสีพื้นซึ่งมีลักษณะหมึกพิมพ์แบนราบ และพิมพ์เพียงด้านเดียวจึงเรียกกันว่า ธนบัตรหน้าเดียว

       ลักษณะสำคัญของธนบัตร ได้แก่ บริเวณตอนกลางเบื้องบนมีตราแผ่นดิน มุมทั้งสี่มีเลขไทยและเลขอารบิกแจ้งราคา หมวดอักษรและเลขหมายไทยอยู่ข้างขวา หมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิกอยู่ข้างซ้าย ใต้หมวดเลขหมายมีวันเดือนปีแห่งธนบัตร ถัดลงมามีข้อความ รัฐบาลสยาม สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม และอักษรโรมันแจ้งราคาอยู่ภายในกรอบด้านซ้าย อักษรไทยแจ้งราคาอยู่ภายในกรอบด้านขวาถัดลงมามีลายมือชื่อเจ้าพนักงาน และเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ด้านซ้ายมีอักษรจีนด้านขวามีอักษรอาหรับภาษามลายูอยู่ภายในกรอบ

ธนบัตรแบบ ๑ รุ่น ๑ ชนิดราคา ๕ บาท

ธนบัตรแบบ ๒

      เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๖๘ รัฐบาลประกาศออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ รวมหกราคาด้วยกัน ธนบัตรแบบนี้มีรูปพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญอยู่ตรงกลางด้านหลัง จึงเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่าแบบแรกนา หรือ ไถนา พิมพ์บนกระดาษไม่มีลายน้ำ

ธนบัตรแบบ ๒ รุ่น ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๕ บาท 

ความแตกต่างระหว่าง ธนบัตรแบบ ๒ รุ่น ๑ กับ ธนบัตรแบบ ๒ รุ่น ๒

ธนบัตรแบบ ๒ รุ่น ๑ พิมพ์ข้อความว่า "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" ที่ด้านหน้าของธนบัตรทุกชนิดราคา

ธนบัตรแบบ ๒ รุ่น ๒ เปลี่ยนข้อความเป็น "ธนบัตร์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย​"

ธนบัตรแบบ ๓

      เป็นธนบัตรแบบแรกที่เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นภาพประธานบนด้านหน้า และธนบัตรแบบสามนี้เริ่มนำภาพอันแสดงถึงวัฒนธรรมตามประเพณีและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนทัศนียภาพต่าง ๆ ได้แก่ ภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ซึ่งเป็นเรือพระราชพิธีในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สถาปัตยกรรมภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทัศนียภาพบริเวณลำน้ำปิง ซึ่งมีภาพเรือแม่ปะหรือเรือหางแมงป่องที่ใช้สำหรับโดยสารและขนส่งสินค้าในภาคเหนือ รวมทั้งภาพชุมชนริมน้ำแห่งหนึ่งมาพิมพ์บนธนบัตรแต่ละชนิดราคาตามลำดับ

      ด้านหลัง เป็นภาพวัดพระสมุทรเจดีย์ มีลายเฟื่อง ประกอบ ถัดลงมามีข้อความแจ้งโทษฐานของการปลอมหรือแปลงธนบัตรอยู่ภายในกรอบทุกชนิดราคา และถือเป็นธนบัตรแบบแรกที่พิมพ์ข้อความแจ้งโทษไว้

ธนบัตรแบบ ๓ รุ่น ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑ บาท

ธนบัตรแบบ ๓ รุ่น ๒ ด้านหน้า  ชนิดราคา ๑ บาท

ธนบัตรแบบ ๔ (โทมัส)

        ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ธนบัตรแบบ ๓ รุ่น ๒ ยังคงมีใช้หมุนเวียนอยู่เนื่องจากปริมาณธนบัตรที่ยังเหลือค้างอยู่เป็นจำนวนมากจากรัชกาลก่อน และเมื่อธนบัตรดังกล่าวถูกใช้หมดสิ้นไป กระทรวงการคลังได้สั่งผลิตธนบัตรใหม่จากบริษัท โธมัส เดอ ลา รู ๕ ราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท ๑๐๐๐ บาท โดยธนบัตรแบบ ๔ นี้ มีการผลิตออกมา ๒ รุ่น และใช้กระดาษมีลายน้ำเป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า หรือเรียกสั้น ๆ ว่า พานรัฐธรรมนูญ อยู่ภายในวงกลมสีขาว

ธนบัตรแบบ ๔ (โทมัส) รุ่น ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนืดราคา ๑ บาท

ธนบัตรแบบ ๔ (โทมัส) รุ่น ๒ ชนืดราคา ๑ บาท เปลี่ยนจาก รัฐบาลสยาม เป็น รัฐบาลไทย

ธนบัตรแบบ ๔ (กรมแผนที่)

   เนื่องจากความจำเป็นในภาวะสงคราม รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ โดยใช้กระดาษจากโรงงานกระดาษไทย จังหวัดกาญจนบุรี และใช้รูปพรรณเหมือนกับธนบัตรแบบสี่ ธนบัตรรุ่นนี้จึงจัดเป็นธนบัตรแบบสี่เช่นกัน แต่เป็นรุ่นที่พิมพ์จากกรมแผนที่ทหารบก มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๑๐ บาท ๒๐ บาท และ ๑๐๐ บาท

   ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลได้สั่งพิมพ์ธนบัตรจากญี่ปุ่น แต่เนื่องจากอุปสรรคในการลำเลียง และความต้องการสูงของกองทัพญี่ปุ่นในประเทศไทย รัฐบาลจำต้องดำเนินการพิมพ์ธนบัตรเองในประเทศไทยโดยใช้อุปกรณ์แล้วแต่จะหาได้

ธนบัตรแบบ ๔ (กรมแผนที่) รุ่น ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนืดราคา ๑ บาท

ธนบัตรแบบ ๕ 

      ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา การขนส่งธนบัตรจากบริษัท โธมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ ต้องยุติลงเนื่องจากไทยซึ่งสนับสนุนฝ่ายอักษะ เป็นคู่สงครามกับฝ่ายพันธมิตร

      การขาดแคลนธนบัตรในช่วงนั้นจึงเกิดขึ้น รัฐบาลไทยได้ขอให้ประเทศญี่ปุ่นจัดการพิมพ์ธนบัตรให้ โดยบริษัทมิตซุย บุสสัน ไคชา จำกัด เป็นผู้แทนในการติดต่อกับโรงพิมพ์ญี่ปุ่น

ธนบัตรแบบ ๕ รุ่น ๑ ด้านหน้า(ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๕๐ สตางค์

ธนบัตรแบบ ๖

    ตลอดช่วงเวลาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ปริมาณความต้องการใช้ธนบัตรที่หมุนเวียนใช้งานอยู่มีมากยิ่งขึ้นทั้งจากการใช้เงินของรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย ทั้งนี้เป็นผลมาจากธนบัตรที่พิมพ์ในประเทศมีอายุการใช้งานสั้นเนื่องจากคุณภาพของกระดาษที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
    หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในการพิมพ์ธนบัตรทั้งของไทยและของญี่ปุ่นต่างก็พยายามผลิตเพื่อให้เพียงพอแต่ก็ไม่สามารถรองรับความต้องการที่มีอยู่มากได้ รัฐบาลไทยจึงขอให้กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือช่วยพิมพ์ธนบัตรเพิ่มอีก

ธนบัตรแบบ ๖ รุ่น ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๒๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๗

       ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ สงครามโลกกำลังจะจบสิ้นลง โดยที่กองทัพญี่ปุ่นถูกโจมตีอย่างหนัก เส้นทางคมนาคมและเส้นทางลำเลียงยุทธภัณฑ์ถูกตัดขาด รวมถึงการขนส่งธนบัตรจากญี่ปุ่นมาไทยก็ถูกรบกวนอย่างมาก จนไม่สามารถส่งมอบธนบัตรให้รัฐบาลไทยได้ กรมแผนที่และกรมอุทกศาสตร์ที่ทำหน้าที่พิมพ์ธนบัตรขณะนั้นก็ดำเนินงานได้อย่างไม่สะดวกนักเนื่องจากถูกทิ้งระเบิดจากเครื่องบินของฝ่ายพันธมิตร ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงจำเป็นต้องให้หน่วยงานพิมพ์อื่นๆ ของรัฐรวมถึงโรงพิมพ์ของเอกชนบางแห่งพิมพ์ธนบัตร ธนบัตรแบบ ๗ นี้ มี ๔ ราคา คือ ๑ บาท ๕ บาท ๑๐ บาท ๕๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๗ รุ่นที่ ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑ บาท

ธนบัตรแบบ ๘

      ในวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๘ สหรัฐอเมริกาได้ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมือง ฮิโรชิมา และ ที่เมืองนางาซากิใน ๓ วันก่อนหน้า จึงทำให้สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง รัฐบาลไทยได้สั่งพิมพ์ธนบัตรใหม่ไปยังบริษัทโธมัส เดอ ลา รู ที่ประเทศอังกฤษ อีกครั้ง แต่เนื่องจากบริษัทได้รับความเสียหายอย่างมากจากภาวะสงครามจึงไม่สามารถพิมพ์ธนบัตรให้ไทยได้ รัฐบาลไทยจึงได้ขอความช่วยเหลือไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและได้รับการตอบรับโดยบริษัท ทิวดอร์เพรส รับเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร แบบ ๘

ธนบัตรแบบ ๘  ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑ บาท 

ธนบัตรแบบ ๙

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ ๙ เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ในช่วงต้นรัชกาลพบว่ามีธนบัตรแบบ ๘ ซึ่งเป็นธนบัตรปลอมจำนวนมากเนื่องจากธนบัตรที่พิมพ์ออกมาใช้นั้นไม่ได้เป็นการพิมพ์แบบหมึกนูน
     กระทรวงการคลังจึงได้สั่งพิมพ์ธนบัตรใหม่จากบริษัท โธมัส เดอ ลา รู ประเทศอังกฤษ ซึ่งกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง

     ธนบัตรแบบเก้ามีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในธนบัตรหลายครั้ง เช่น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ ฉลองพระองค์ สีของหมวดเลขหมาย ลายน้ำ เส้นไหมที่โรย และเส้นใยเคลือบโลหะ ซึ่งมีประกาศกระทรวงการคลังแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ยังเปลี่ยนข้อความแจ้งโทษฐานการปลอมแปลงธนบัตรรวมทั้งตัดเครื่องหมายทัณฑฆาตของคำว่า ธนบัตร์ ในรุ่นหลัง ๆ ออก แต่มิได้มีการประกาศให้ทราบ

ธนบัตรแบบ ๙ รุ่น ๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา)  ชนิดราคา ๑ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๐

ธนบัตรแบบ ๑๐ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑๐๐ บาท 

ธนบัตรแบบ ๑๑

             โรงพิมพ์ธนบัตรของประเทศไทย เริ่มเปิดดำเนินการพิมพ์ธนบัตรเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๒ โดยเริ่มพิมพ์ธนบัตรแบบ ๑๑ ในช่วงเริ่มต้นของการทำงานมีผู้เชี่ยวชาญชาวต่างชาติเข้ามาช่วยในเรื่องงานออกแบบและการแกะแม่แบบสำหรับใช้เป็นแม่พิมพ์ ภายใต้การกำหนดรูปแบบอย่างศิลปะไทยจากกรมศิลปากร เพื่อให้ธนบัตรไทยมีรูปแบบที่มีเอกลักษณ์แสดงความเป็นชาติอย่างภาคภูมิใจ       

    ธนบัตร แบบ ๑๑ มี ราคาได้แก่ ๕, ๑๐, ๒๐, ๑๐๐ และ ๕๐๐ บาท ในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ โรงพิมพ์ธนบัตรได้พิมพ์ธนบัตร ๕๐๐ บาท ออกมาโดยเป็นธนบัตรรุ่นแรกที่เป็นฝีมือคนไทยตลอดทุกขั้นตอนของงานไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบหรืองานแกะแม่แบบที่เคยให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติทำมาก่อน

ธนบัตรแบบ ๑๑ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๕ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๒

       หลังจากที่โรงพิมพ์ธนบัตรได้ออกธนบัตร แบบ ๑๑ กระจายสู่การหมุนเวียนในตลาดนานพอสมควร จึงได้มีการออกแบบใหม่ออกมาเป็นแบบที่ ๑๒ โดยมี ๓ ราคา คือ ๑๐, ๒๐ และ ๑๐๐ บาท และเพื่อเป็นการถวายเกียรติยศแด่องค์มหากษัตริย์ไทยในอดีต จึงได้อัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ขององค์กษัตริย์ผู้เป็นมหาราชเป็นลายด้านหลังของธนบัตร จึงเรียกธนบัตรชุดนี้ว่า แบบมหาราช

   พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ขององค์กษัตริย์ผู้เป็นมหาราชได้ต้นแบบมาจากพระราชานุสาวรีย์ของแต่ละพระองค์ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยะมหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สมเด็จพระเจ้านเรศวรมหาราช

ธนบัตรแบบสิบสอง ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑๐ บาท

ธนบัตรแบบสิบสอง ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๒๐ บาท

ธนบัตรแบบสิบสอง ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๓

        มีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง ​

มี ๒ ชนิดราคา ได้แก่ ๕๐ บาท และ ๕๐๐ บาท  

ธนบัตรแบบ ๑๓ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๕๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๓ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๕๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๔

     เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติ์สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่อาณาประชาราษฎร์ ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง และศาสนา และประโยชน์สุขแห่งมหาชนในราชอาณาจักร จึงเป็นที่มาของการรูปแบบธนบัตร แบบ ๑๔ ที่ได้ถ่ายทอดพระราชกรณียกิจต่างๆบนลวดลายด้านหลังธนบัตร เพื่อเป็นการเผยแผ่เกียรติคุณไพศาลแห่งพระมหากรุณาธิคุณและเป็นการถวายความจงรักภักดีของเหล่าประชาชนใต้ร่มบรมโพธิสมภารแห่งราชวงศ์จักรี

ธนบัตรแบบ ๑๔ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑๐๐ บาท 

ธนบัตรแบบ ๑๔ ด้านหน้า(ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๕๐๐ บาท 

ธนบัตรแบบ ๑๔ ด้านหน้า (ซ้าย) ด้านหลัง (ขวา) ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท 

ธนบัตรแบบ ๑๕

       ธนบัตรแบบนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และเป็นแบบที่เริ่มปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา 

ธนบัตรแบบ ๑๕ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๒๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๕ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๕๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๕ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๑๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๕ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๕๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๕ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๕ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๖

     ธนบัตรแบบนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ

      ธนบัตรแบบ ๑๖ ชนิดราคา ๒๐ บาท

         พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประทับบนพระแท่นมนังศิลาบาตร ภาพการประดิษฐ์อักษรไทย ภาพศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำแหง ภาพลายสือไทย ภาพทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎร ภาพกระดิ่ง และภาพเครื่องสังคโลก

      ธนบัตรแบบ ๑๖ ชนิดราคา ๕๐ บาท ​​

         ​พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงหลั่งทักษิโณทก  ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระแสงดาบ นำทหารเข้าตีค่ายพม่า พระบรมราชานุสาวรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ และพระเจดีย์ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

     ธนบัตรแบบ ๑๖ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท

         พระบรมรูป​สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภาพทรงเกลี้ยกล่อมให้ประชาชนรวมกำลังกันต่อสู่กู้อิสรภาพ ภาพท้องพระโรงพระราชวังกรุงธนบุรี ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงม้าพระที่นั่งออกศึก และภาพป้อมวิไชยประสิิทธิ์ 

      ธนบัตรแบบ ๑๖ ชนิดราคา ๕๐๐ บาท

         พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภาพวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภาพป้อมพระสุเมรุ

      ธนบัตรแบบ ๑๖ ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท

         ​พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงม้าพระที่นั่ง ภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม และภาพการเลิกทาส 

ธนบัตรแบบ ๑๖ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๒๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๖ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๕๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๖ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๑๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๖ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๕๐๐ บาท

ธนบัตรแบบ ๑๖ ด้านหน้า (ขวา)ด้านหลัง (ซ้าย) ชนิดราคา ๑๐๐๐ บาท

© 2023 นิสิตเศรษฐศาสตร์ ไทยศึกษาเชิงประจักษ์ หมู่ ๓๐๐ กลุ่ม C-11 created with Wix.com

  • Facebook - White Circle
  • Pinterest - White Circle
  • Instagram - White Circle
bottom of page