
ที่มาของธนบัตร
เงินกระดาษ ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่นในระบบการเงินของประเทศนั้น ประเทศไทยเคยใช้เบี้ยหอยและเงินพดด้วงเป็นเงินตราสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว
ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้เริ่มเปลี่ยนไปจากระบบการผลิตเพื่อใช้เอง มาเป็นระบบการผลิตเพื่อการค้า ดังนั้นระบบการเงินของประเทศจึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปลี่ยนจากรูปลักษณะของเงินตราแบบโบราณลงแล้ว ยังได้มีการปรับปรุงระบบมาตราของเงินตราตลอดจนเริ่มนำเอาธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่นอีกด้วย
หมาย เงินกระดาษชนิดแรกที่มีการนำมาใช้ในระบบเงินตราของประเทศไทยนั้นเรียกว่า “หมาย” โดยหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔ แล้วได้ไม่นานนัก ก็ปรากฏว่ามีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมเกิดขึ้นอย่างชุกชุม จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป เพื่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดทำ “หมาย” ขึ้นใช้แทนเงินพดด้วงในปี พ.ศ. ๒๓๙๖
หมาย
อัฐกระดาษ เงินกระดาษชนิดที่สองที่ได้มีการนำมาใช้ในระบบการเงินของประเทศไทยนั้นอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ ซึ่งเป็นเวลาที่มีผู้ทำเหรียญอัฐปลอมออกมาใช้ปนกับเหรียญของทางราชการ เมื่อราษฎรไม่สามารถแยกออกได้ว่าเหรียญใดเป็นเหรียญปลอม จึงต่างปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ด้วยเหรียญอัฐดังกล่าว รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงแก้ไขด้วยการประกาศรับแลกเหรียญคืน และในที่สุดก็ประกาศลดมูลค่าของเหรียญลดลงไปอีก เมื่อมูลค่าของเหรียญต่ำลงอย่างมากเช่นนั้น การทำเหรียญเงินปลีกปลอมก็ไม่สามารถจะทำกำไรได้ เงินปลอมก็ค่อยๆลดลงและหายไปในที่สุด
อัฐกระดาษ
บัตรธนาคาร เงินกระดาษที่มีการนำเข้ามาใช้ในระบบเงินตราของไทยในระยะต่อมาคือ บัตรธนาคาร (Bank Note) ซึ่งธนาคารเหล่านี้มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ธนาคารพิมพ์ขึ้นเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารและลูกค้า
ในบัตรธนาคารมีข้อความเป็นสัญญาว่า ธนาคารผู้ออกบัตรพร้อมที่จะรับบัตรธนาคารของตนคืนและจ่ายเงินตราที่เป็นโลหะตามราคาที่พิมพ์ไว้บนบัตรธนาคารนั้น ให้แก่ผู้ที่นำบัตรธนาคารของตนมาขอเปลี่ยนเป็นเงินตราที่เป็นโลหะได้ทุกเมื่อ
บัตรธนาคาร
ที่มา : http://www.siambanknote.com/museum/Thai-paper-money/foreign%20banknote-Thai%20paper%20money.htm
เงินกระดาษหลวง เพื่อเป็นการอำนวยการสะดวกให้แก่พ่อค้าชาวต่างประเทศในการนำเงินตราต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทกับพระคลังเพื่อซื้อสินค้าในประเทศไทย
ในจำนวนไม่ต่ำกว่าปีละแสนชั่งดังกล่าวแล้ว ได้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลไทยต้องรีบดำเนินการตอบสนองความต้องการ โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงินกระดาษออกใช้เป็นสื่อกลางในการชำระหนี้ ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพิจารณากันอย่างจริงจังนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๑ เป็นต้นมา